หลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ

วัดบางมอญ ต.บางนา
อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติความเป็นมาของอุปัชฌาย์จั่น ท่านเกิดที่ตำบลบางมอญ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ปีกุน พ.ศ.2380 จ.ศ.1199 ร.ศ.56 ค.ศ.1837-8 โดยบิดาของท่านชื่อ ทบ โยมมารดา ชื่อ ทรัพย์ ชีวิตเมื่อครั้งเยาว์วัยได้ศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านอยู่กับวัด สมัยก่อนโรงเรียนหายากจึงเล่าเรียน กับพระตามวัด จนกระทั่งอ่านออกเขียนได้ ทั้งภาษาไทยและอักษรขอม ครั้นเมื่ออายุ 23 ปี (พ.ศ.2403) ญาติโยมได้ทำการอุปสมบทให้ที่วัดบางมอญนั่นเอง โดยมีพระอธิการอินทร์ วัดตาลเอน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาต่าย วัดระฆัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์จีน วัดบางมอญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชได้รับฉายาว่า "จันทร" และได้อยู่วัดบางมอญตลอดมา ปี พ.ศ.2435 อายุได้ 55 ปี พรรษาที่ 32 ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรอยู่ในเขตอำเภอมหาราช
หลวงพ่อจั่นหรืออุปัชฌาย์จั่น เป็นพระเถระที่มีศีลาจาวัตรครบถ้วน การปฏิบัติธรรมวินัยระเบียบแบบแผน ท่านก็เคร่งครัด เมื่อผู้ใดพบเห็นก็ชวนให้เคารพนับถือกราบไหว้ มาพบท่านครั้งหนึ่งก็พยายามมาหาท่านอีกเป็นครั้งที่ 2-3
หลวงพ่อได้บำเพ็ญศาสนกิจด้วยคุณงามความดีมาตลอดชีวิตของท่าน กระทั่งถึงวันอาทิตย์แรม 3 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ เวลาบ่าย 4 โมง ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 ท่านได้ถึงกาลมรณภาพ นับสิริอายุครบ 90 ปี (67 พรรษา) บริบูรณ์ นับได้ว่าชาวอำเภอมหาราชได้สูญเสียพระเถระพระอาจารย์ผู้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรไปอย่างน่าเสียดาย

หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด

วัดเจ้าเจ็ด ต.เจ้าเจ็ด
อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
วัดเจ้าเจ็ดใน ตั้งอยู่ที่ริมคลองเจ้าเจ็ดซึ่งเป็นทางไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบัน วัดเจ้าเจ็ดในตั้งอยู่ที่ ๓๔ ถนนสุขาภิบาลเจ้าเจ็ด หมู่ที่ ๓ ตำบลเจ้าเจ็ด อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๔๐ ตารางวา วัดเจ้าเจ็ดในเกิดขึ้นหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่าใหม่ๆปี พ.ศ.๒๓๑๐ ท้องที่เจ้าเจ็ดเป็นดินแดนลุ่มลาดซึ่งเป็นป่ารกร้าง มาก จึงเป็นที่อาศัยของสัตว์ร้ายเช่น จระเข้ ช้าง เสือ เป็นต้น และเป็นที่ลี้ภัยสงครามพม่าของเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ในครั้งนั้น เมื่อเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ทั้งหลายลี้ภัยมาพักอาศัยอยู่ที่ตำบลนี้ ซึ่งคงนับได้ ๗ พระองค์ จึงได้สร้างปูชนีย์วัตถุไว้ ต่อมาประชาชนจึงได้ถือเอาที่นี้เป็นวัด จึงได้ซื่อว่า “วัดเจ้าเจ็ด” ต่อมาภายหลังได้เกิดวัดขึ้นอีกวัดตั้งอยู่ทิศเหนือ มีเนื้อที่ติดต่อกัน ดังนั้นวัดเจ้าเจ็ดจึงมีคำว่า “ใน” ต่อท้าย ต่อมาปี ๔๔๙ พระธรรมดิลก (อิ่ม) กับพระอุปัชฌาย์ ปั้น เป็นเจ้าอาวาสขณะนั้นเป็นหัวหน้าประชาชน ชาวเจ้าเจ็ด และกรุงเทพ ร่วมกันสร้างโรงอุโบสถขึ้นโดยสร้างทับที่ของเดิม และผูกพัทธสีมาเมื่อปี ๒๔๕๐
หลวงปู่ยิ้มสิริโชติ เป็นคนดี ศรีอยุธยา เลือดคุ้งน้ำเจ้าเจ็ด…นามเดิม ยิ้ม กระจ่าง เป็นบุตรนายอ่วม นางสุด กระจ่าง ท่านเกิดที่ตำบลเจ้าเจ็ดอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดที่บ้านสาลี หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านแถว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๑๘
(จันทรคติ วันเสาร์ -- ค่ำ เดือน – ปีกุน จ.ศ. ๑๒๓๗ ) มีพี่น้องร่วมบิดา มารดารวม ๓ คน คือ
๑. นายจ่าง กระจ่าง
๒. พระครูพรหมวิหารคุณ (ยิ้ม สิริโชติ)
๓. นายโชติ กระจ่าง
โยมที่บ้านมีอาชีพทางกสิกรรม ทำไร่ ทำนาบรรพชาเป็นสามเณรมาตั้งแต่อายุได้ ๑๒ ขวบ พ.ศ. ๒๔๓๐ อุปสมบท เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ณ พัทธสีมา วัดเจ้าเจ็ดนอก มีพระอาจารย์สิน วัดโพธิ์ เป็นอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จาดเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สุ่มเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนา ศึกษาพระคัมภีร์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน เขียนอักขระเลขยันต์ ลบผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ ผู้สืบสานวิชาอาคมมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า…คือพระอาจารย์จาด และพระอาจารย์จีน สำนักวัดเจ้าเจ็ดใน ( พระอาจารย์จีน เป็นพระอาจารย์สอนอักขร สมัยให้กับ
หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ในครั้งนั้นด้วย ) พออายุ ๑๘ ปี ก็ย้ายไปศึกษาที่วัดกระโดงทอง ภายใต้การปกครองของหลวงพ่อบุญมี สำเร็จยันต์นะ ปัดตลอด และสามารถเขียนยันต์ผงทะลุแผ่นกระดานชนวนได้อย่างอัศจรรย์ ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเจ้าเจ็ดใน ต่อจากพระอุปฌาย์ ปั้น ในสมัยนั้นวัดเจ้าเจ็ดใน ได้แบ่งออกเป็น ๓ คณะ โดยมีหลวงปู่ยิ้ม เป็นเจ้าคณะเหนือ หลวงปู่โฉม เป็นเจ้าคณะใต้ และหลวงปู่คำ เป็นเจ้าคณะตะวันออก และหลวงปู่ยิ้มยังเป็นเจ้าคณะตำบลเจ้าเจ็ด เป็นพระครูกรรมการศึกษาและเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็น พระครูพรหมวิหารคุณ พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นเจ้าคณะอำเภอบางซ้าย มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๙ รวมอายุได้ ๘๒ ปี ครั้งเมือหลวงปู่ยิ้ม ยังมีชีวิตอยู่ท่านเป็นพระที่อุดมด้วย ศีลลาจารวัตร ตลอดชีวิตของหลวงปู่ เป็นพระที่อารมณ์เย็น เคร่งครัด แต่มีเมตตาธรรมสูง พูดน้อย และมีผู้คนไปกราบนมัสการหาสู่ท่านมิได้ขาด พระเกจิอาจารย์ดังแห่งกรุงศรีอยุธยา, ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามอินโดจีน หลวงปู่ยิ้ม มีพระสหธรรมมิกที่ร่วม ครู-อุปัชฌาย์ อาจารย์องค์เดียวกันในยุคนั้นคือ หลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก ซึ่งมีอายุมากกว่าหลวงปู่ยิ้ม ๓ ปี อีกรูปหนึ่งคือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเกิดปีเดียวกับหลวงปู่ยิ้ม
ย่างเข้าสู่วัยชรา ทุกสรรพสิ่งที่เกิดมานานแล้วก็ร่วงโรยไปในที่สุด หลวงปู่ยิ้มละสังขารไปด้วยอาการอันงบ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๙ (วันจันทร์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก จ.ศ. ๑๓๑๘ ) รวมสิริอายุได้ ๘๑ ปี ๖๑ พรรษา