หลวงพ่อชม วัดเขาดิน

วัดวรนายกรังสรรค์เจติบรรพตาราม (วัดเขาดิน)
ต.เขาดิน อ.บางปนะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อชม กัสโป เดิมชื่อ ชม เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน ๕ คน ของโยมบิดา นิ่ม และ โยมมารดา เชย ไม่ทราบด้วยเหตุใดจึงทำให้ในตระกูลของท่านไม่ปรากฏนามสกุล (ณ ตอนนั้น) ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๔๖๐ แม้ท่านจะเป็นคนบางเดื่อ คือเกิดที่บ้านบางเดื่อ ต.บางเดื่อ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา แต่ท่านก็อยู่ไม่ไกลจาก วัดสะแก ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อยังเล็กท่านจึงได้มาเรียนหนังสือที่วัดสะแกจนจบ ป.๔ ซึ่งในสมัยนั้นถือว่ามีวิทยฐานะดีแล้ว จึงได้ออกมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพต่อมาเมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสะแกนั่นเอง และนี่คือการบวชครั้งแรกในชีวิต ซึ่งท่านไม่อาจหยั่งรู้ได้เลยในขณะนั้นว่าท่านจะไม่ได้สึกอีกตลอดไปขณะเป็นสามเณรอยู่ที่วัดสะแก ช่วงนั้นเป็นยุครุ่งเรืองของปรมาจารย์ทางไสยเวทย์ที่หาตัวจับยากในอยุธยาคนหนึ่ง คือ ท่านอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ ตอนที่เด็กชายชมเป็นสามเณรก็ให้บังเอิญที่อาจารย์เฮงกำลังบวชพระอยู่พอดี ท่านจึงได้เห็น ได้รู้ ถึงความขลังความศักดิ์สิทธิ์ของพระภิกษุเฮงตลอดมา
จวบจนอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุโบสถวัดแก โดยมี ท่านพระครูอุทัยคณารักษ์ (แด่) วัดสะแก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโบราณคณิสสร (ใหญ่ ติณณสุวัณโณ) วัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์วัดไผ่ ฯ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากบวชพระแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดสะแกดังเดิมวัดสะแกยุคนั้นแม้จะเลื่องชื่อลือชาในกิตติคุณของพระอาจารย์เฮง แต่ก็ใช่ว่าจะกลบกลิ่นหอมของคนดีไปเสียจนหมดสิ้น นามหนึ่งที่ใครหลายคนรู้จักดีก็คือ พระอาจารย์สี พินทสุวัณโณ ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกในหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์กลั่น วัดพระญาติการาม เหมือนกัน และท่านพระอาจารย์สีนี้ก็ยังเป็นศิษย์น้องและศิษย์จริงของพระอาจารย์เฮงอีกด้วยเมื่อเป็นดังนี้ พระภิกษุนวกะอย่างพระชม จึงคิดเข้าหาพระอาจารย์สีมากกว่า เหตุหนึ่งเพราะท่านพระอาจารย์สีนี้ใจดีกว่า ดุน้อยกว่าพระอาจารย์เฮง ครั้งพระชมเข้าไปนมัสการพระอาจารย์สีขอถวายตัวเป็นศิษย์ องค์อาจารย์ก็เมตตารับโดยไม่รังเกียจ และเริ่มปฐมบทแห่งขลังด้วยการสอนให้พระใหม่ฝึกนั่งสมาธิภาวนา แรกนั่งท่านก็รู้สึกอึดอัดเบื่อหน่าย ด้วยใจท่านคิดว่าเรามาขอศึกษาวิทยาคุณกับหลวงพ่อท่าน แต่เหตุไฉนท่านจึงให้มานั่งหลับหูหลับตาอยู่อย่างนี้ไม่เห็นจะได้อะไร คาถาสักตัวก็ยังไม่ได้ น่าเบื่อเหลือเกินก็ไม่ทราบหลวงพ่อสีทราบได้อย่างไร จึงสอนท่านว่า “ท่านชม วิชาไสยศาสตร์ใด ๆ ก็ดีล้วนมีพื้นฐานอยู่ที่สมาธิทั้งสิ้น วิชาที่จะทำแล้วมีความขลังก็ต้องอาศัยสมาธิจึงจะทำได้ผล”ด้วยคำแนะนำเชิงปลอบประโลมเช่นนี้ จึงทำให้พระภิกษุชมเกิดความตั้งอกตั้งใจในการบำเพ็ญกัมมัฏฐานยิ่ง ๆ ขึ้น ต่อมาเมื่อหลวงพ่อสีเล็งเห็นว่าพระชมมีสมาธิดีในระดับหนึ่งแล้ว ท่านจึงเริ่มสอนเวทย์มนต์คาถาต่าง ๆ ให้เป็นลำดับ ๆ ไป และเมื่อการนั่งภาวนาของท่านมีผลแปลก ๆ บังเกิดขึ้น ถ้าไม่ถามเอาจากหลวงพ่อสี พระชมก็จะไปกราบเรียนถาม หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ แทน เพราะท่านได้ขึ้นกัมมัฏฐานกับหลวงพ่อดู่ไว้ด้วยภายหลังท่านพระอาจารย์เฮงก็ลาสิกขาบทออกมามีภรรยาและลอยเรืออยู่ที่หน้าวัดสะแก อันเรือประทุนลำนี้อาจารย์เฮงห้ามขาดมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดลงไปได้เลย เหตุเพราะอาจารย์เฮงมีภรรยาที่สาวและสวยมาก ๆ ท่านจึงไม่ต้องการให้ใครได้พบเห็น คงอนุญาตอยู่เพียงผู้เดียวให้ลงไปกินเหล้ากับท่านในเรือได้อย่างเป็นกันเองที่สุด นั่นก็คือ อาจารย์ก้าน บำรุงกิจ น้องชายแท้ ๆ ของหลวงปู่สี พินทสุวัณโณ ซึ่งอาจารย์ก้านนี้สมัยบวชเป็นภิกษุก็มีพระอุปัชฌาย์เดียวกันกับอาจารย์เฮง คือ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ฯ และต่อมาอาจารย์ก้านก็ได้เป็นศิษย์ของอาจารย์เฮงอีกด้วย
พระอาจารย์ชมจำพรรษาอยู่ที่วัดสะแกยาวนานถึง ๑๐ พรรษาเศษ ๆ ท่านก็ถูกคณะสงฆ์แต่งตั้งให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบางเดื่อ ต.บางเดื่อ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา ที่วัดบางเดื่อนี้เอง ท่านได้พบคัมภีร์เก่าโบราณอายุราว ๒๐๐ ปี ซึ่งเป็นสมบัติเก่าของวัดประดู่โรงธรรม สำนักตักศิลาใหญ่ทางศาสตร์วิชาต่าง ๆ มากมายเกินพรรณนา โดยเฉพาะวิชาทางไสยเวทย์ถือได้ว่าเป็นหอสมุดขลังซึ่งใหญ่ที่สุดในโลก หากไม่เพราะพม่าเข้ามาเผาทำลายไปจำนวนมาก ลูกหลานไทยคงได้พบเห็นอะไรดี ๆ อีกเยอะครั้นหลวงพ่อชมได้ครอบครองคัมภีร์สำคัญ ท่านก็เฝ้าศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียด พบว่าในตำรานั้นบันทึกวิชาการสร้างและเสก ตะกรุดโทน เบี้ยแก้ เชือกคาด เชือกแขน แหวนพิรอด การทำยาสมุนไพรและผงว่านต่าง ๆ มีทั้งการแก้และกันคุณไสยนานาประการ ยิ่งท่านศึกษาก็รู้สึกว่าตำรานี้มีความลึกซึ้งมาก แยบคายมาก ตอนใดที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ ท่านก็จะนำความเข้าไปกราบเรียนถามกับ พระครูศีลกิตติคุณ (อั้น คันธาโร) วัดพระญาติการาม บ้าง ปรึกษากับ หลวงปู่สี พินทสุวัณโณ บ้าง ปรึกษากับ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ บ้าง ทำให้ท่านมีความก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาพระคัมภีร์นี้
หลวงพ่อชมปกครองดูแลวัดและพระ-เณรที่วัดบางเดื่อถึง ๒๐ พรรษา จึงถูกนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาดิน ไม่ว่าท่านจะไปอยู่ที่ใด ท่านก็สร้างสรรค์ความเจริญทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจให้กับประชาชนในพื้นที่มาตลอด ทำให้ท่านเป็นที่รักและเคารพแก่คนทั่วไปอย่างยิ่งหลวงพ่อเคยออกวัตถุมงคลอย่างเป็นทางการมาหลายครั้ง เท่าที่พอจะสืบทราบได้ก็คือ๑. เหรียญรุ่นแรกสร้างปี พ.ศ. ๒๕๑๓ ออกที่วัดบางเดื่อ ลักษณะเหรียญจะคล้ายกับเหรียญมังกรคู่ของหลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน จ.ปราจีนบุรี๒. เหรียญรุ่นหนึ่งปี พ.ศ. ๑๕๑๗ ออกที่วัดเขาดิน เป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์ ด้านล่างเป็นรูปปืนไขว้๓. พระผงรูปเหมือนลอยองค์ เหรียญพระพิมพ์ปรุหนัง พระผงปรุหนัง ทั้งหมดออกในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ดังนั้นถ้าท่านใดไปพบวัตถุมงคลตามรายการดังกล่าว ก็จงรีบไขว่าคว้าไว้เถิดเพราะเป็นของดีที่หาได้ยาก พระระดับนี้เสกของย่อมต้องป้องกันภยันตรายและเป็นเมตตามหานิยมได้อย่างดียิ่ง สำหรับเหรียญรุ่นหนึ่งที่ ๑๗ หากได้พบว่าที่พื้นเหรียญมีการตอกโค้ดเป็นเลขไทยว่า “๒๘” ได้โปรดทราบไว้เลยว่านั่นคือเหรียญที่ท่านเก็บเอาไว้กับองค์ท่านตั้งแต่ปีที่สร้างคือ พ.ศ. ๒๕๑๗ และท่านก็ปลุกเสกเรื่อยมาทุกวัน ๆ จนถึง ปีพ.ศ. ๒๕๒๘ นับแล้วก็ ๑๐ กว่าปี



หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

วัดหน้าต่างนอก
อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อจง พุทธสโร มีนามเดิมว่า จง เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ปีวอก พุทธศักราช 2415 ที่ตำบล หน้าไม้ อำเภอ บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ นายยอด มารดาชื่อนางขลิบ มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน คือ
1.หลวงพ่อจง พุทธสโร
2.หลวงพ่อนิล ธมมโชติ
3.นางปริด สุนสโมสร
เมื่ออายุได้ 11 ขวบ ได้บวชเป็นสามเณร ที่วัดหน้าต่างใน จนอายุ 21 ปี ในปี 2435 จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดหน้าต่างใน โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปชฌาย์ พระอาจารย์อินทร วัดหน้าต่างนอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์โพธิ์ วัดหน้าต่างใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า พุทธสโร
หลวงพ่อจงได้ศึกษาอักษรไทยและขอมกับพระอาจารย์โพธิ์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน ผู้เป็นพระอนุสวนาจารย์ของท่าน ท่านอาจารย์โพธิ์องค์นี้เชี่ยวชาญชำนาญในพระเวทย์วิทยาคมยิ่งนัก อักทั้งยังเป็นสหธรรมมิกกับหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ ต่อมาท่านยังฝากตัวเป็นศิษย์เรียนพระกัมมัฏฐานกับหลวงพ่อปั้น วัดพิกุล และหลวงพ่อสุ่นวัดบางปลาหมอ จนเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ได้ชำนาญ
ในปี 2450 ท่านได้ถูกแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก เมื่อครั้งนั้น หลวงพ่อสุ่นวัดบางปลาหมอ หลวงพ่อปั้นวัดพิกุล และพระอาจารย์โพธิ์ วัดหน้าต่างใน ซึ่งเป็นพระอาจารย์หลวงพ่อจงกำลังมีชื่อเสียงมากในขณะนั้น ภายหลังพระอาจารย์ทั้ง 3 ได้มรณะภาพลง จึงทำให้หลวงพ่อจงเริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชนชาวพุทธในอยุธยา ในปี 2475
หลวงพ่อจง พุทธสโร ท่านเป็นพระเกจิชื่อดังของเมืองกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อครั้งท่านมีชีวิตท่านได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและพุทธบริษัททั้งหลายโดยมิได้เลือกชนชั้นวรรณะ ใครขออะไรท่านปลดทุกข์คลายโศกให้ด้วยจิตที่มีเมตตาแม้ท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว แต่เหล่าลูกศิษย์และผู้เคารพศรัทธายังคงรำลึกถึงท่านเสมอมา และท่านยังเป็นพระสหธรรมมิกกับหลวงพ่อปานวัดบางนมโค และหลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน ด้วย
ช้าตรู่ของวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ปี 2508 เวลา 01:55 น.หลวงพ่อจงได้ มรณภาพลงด้วยอาการสงบ ณ กุฏิของท่านนั้นเอง สิริอายุได้ 92 ปี 10 เดือน 17 วัน พรรษา 72














หลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ

วัดบางมอญ ต.บางนา
อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติความเป็นมาของอุปัชฌาย์จั่น ท่านเกิดที่ตำบลบางมอญ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ปีกุน พ.ศ.2380 จ.ศ.1199 ร.ศ.56 ค.ศ.1837-8 โดยบิดาของท่านชื่อ ทบ โยมมารดา ชื่อ ทรัพย์ ชีวิตเมื่อครั้งเยาว์วัยได้ศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านอยู่กับวัด สมัยก่อนโรงเรียนหายากจึงเล่าเรียน กับพระตามวัด จนกระทั่งอ่านออกเขียนได้ ทั้งภาษาไทยและอักษรขอม ครั้นเมื่ออายุ 23 ปี (พ.ศ.2403) ญาติโยมได้ทำการอุปสมบทให้ที่วัดบางมอญนั่นเอง โดยมีพระอธิการอินทร์ วัดตาลเอน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาต่าย วัดระฆัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์จีน วัดบางมอญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชได้รับฉายาว่า "จันทร" และได้อยู่วัดบางมอญตลอดมา ปี พ.ศ.2435 อายุได้ 55 ปี พรรษาที่ 32 ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรอยู่ในเขตอำเภอมหาราช
หลวงพ่อจั่นหรืออุปัชฌาย์จั่น เป็นพระเถระที่มีศีลาจาวัตรครบถ้วน การปฏิบัติธรรมวินัยระเบียบแบบแผน ท่านก็เคร่งครัด เมื่อผู้ใดพบเห็นก็ชวนให้เคารพนับถือกราบไหว้ มาพบท่านครั้งหนึ่งก็พยายามมาหาท่านอีกเป็นครั้งที่ 2-3
หลวงพ่อได้บำเพ็ญศาสนกิจด้วยคุณงามความดีมาตลอดชีวิตของท่าน กระทั่งถึงวันอาทิตย์แรม 3 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ เวลาบ่าย 4 โมง ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 ท่านได้ถึงกาลมรณภาพ นับสิริอายุครบ 90 ปี (67 พรรษา) บริบูรณ์ นับได้ว่าชาวอำเภอมหาราชได้สูญเสียพระเถระพระอาจารย์ผู้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรไปอย่างน่าเสียดาย

หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด

วัดเจ้าเจ็ด ต.เจ้าเจ็ด
อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
วัดเจ้าเจ็ดใน ตั้งอยู่ที่ริมคลองเจ้าเจ็ดซึ่งเป็นทางไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบัน วัดเจ้าเจ็ดในตั้งอยู่ที่ ๓๔ ถนนสุขาภิบาลเจ้าเจ็ด หมู่ที่ ๓ ตำบลเจ้าเจ็ด อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๔๐ ตารางวา วัดเจ้าเจ็ดในเกิดขึ้นหลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียให้แก่พม่าใหม่ๆปี พ.ศ.๒๓๑๐ ท้องที่เจ้าเจ็ดเป็นดินแดนลุ่มลาดซึ่งเป็นป่ารกร้าง มาก จึงเป็นที่อาศัยของสัตว์ร้ายเช่น จระเข้ ช้าง เสือ เป็นต้น และเป็นที่ลี้ภัยสงครามพม่าของเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ในครั้งนั้น เมื่อเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ทั้งหลายลี้ภัยมาพักอาศัยอยู่ที่ตำบลนี้ ซึ่งคงนับได้ ๗ พระองค์ จึงได้สร้างปูชนีย์วัตถุไว้ ต่อมาประชาชนจึงได้ถือเอาที่นี้เป็นวัด จึงได้ซื่อว่า “วัดเจ้าเจ็ด” ต่อมาภายหลังได้เกิดวัดขึ้นอีกวัดตั้งอยู่ทิศเหนือ มีเนื้อที่ติดต่อกัน ดังนั้นวัดเจ้าเจ็ดจึงมีคำว่า “ใน” ต่อท้าย ต่อมาปี ๔๔๙ พระธรรมดิลก (อิ่ม) กับพระอุปัชฌาย์ ปั้น เป็นเจ้าอาวาสขณะนั้นเป็นหัวหน้าประชาชน ชาวเจ้าเจ็ด และกรุงเทพ ร่วมกันสร้างโรงอุโบสถขึ้นโดยสร้างทับที่ของเดิม และผูกพัทธสีมาเมื่อปี ๒๔๕๐
หลวงปู่ยิ้มสิริโชติ เป็นคนดี ศรีอยุธยา เลือดคุ้งน้ำเจ้าเจ็ด…นามเดิม ยิ้ม กระจ่าง เป็นบุตรนายอ่วม นางสุด กระจ่าง ท่านเกิดที่ตำบลเจ้าเจ็ดอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดที่บ้านสาลี หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านแถว อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๑๘
(จันทรคติ วันเสาร์ -- ค่ำ เดือน – ปีกุน จ.ศ. ๑๒๓๗ ) มีพี่น้องร่วมบิดา มารดารวม ๓ คน คือ
๑. นายจ่าง กระจ่าง
๒. พระครูพรหมวิหารคุณ (ยิ้ม สิริโชติ)
๓. นายโชติ กระจ่าง
โยมที่บ้านมีอาชีพทางกสิกรรม ทำไร่ ทำนาบรรพชาเป็นสามเณรมาตั้งแต่อายุได้ ๑๒ ขวบ พ.ศ. ๒๔๓๐ อุปสมบท เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๔๓๘ ณ พัทธสีมา วัดเจ้าเจ็ดนอก มีพระอาจารย์สิน วัดโพธิ์ เป็นอุปัชฌาย์ พระอาจารย์จาดเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สุ่มเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนา ศึกษาพระคัมภีร์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน เขียนอักขระเลขยันต์ ลบผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จากพระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ ผู้สืบสานวิชาอาคมมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า…คือพระอาจารย์จาด และพระอาจารย์จีน สำนักวัดเจ้าเจ็ดใน ( พระอาจารย์จีน เป็นพระอาจารย์สอนอักขร สมัยให้กับ
หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ในครั้งนั้นด้วย ) พออายุ ๑๘ ปี ก็ย้ายไปศึกษาที่วัดกระโดงทอง ภายใต้การปกครองของหลวงพ่อบุญมี สำเร็จยันต์นะ ปัดตลอด และสามารถเขียนยันต์ผงทะลุแผ่นกระดานชนวนได้อย่างอัศจรรย์ ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดเจ้าเจ็ดใน ต่อจากพระอุปฌาย์ ปั้น ในสมัยนั้นวัดเจ้าเจ็ดใน ได้แบ่งออกเป็น ๓ คณะ โดยมีหลวงปู่ยิ้ม เป็นเจ้าคณะเหนือ หลวงปู่โฉม เป็นเจ้าคณะใต้ และหลวงปู่คำ เป็นเจ้าคณะตะวันออก และหลวงปู่ยิ้มยังเป็นเจ้าคณะตำบลเจ้าเจ็ด เป็นพระครูกรรมการศึกษาและเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็น พระครูพรหมวิหารคุณ พ.ศ. ๒๔๙๓ เป็นเจ้าคณะอำเภอบางซ้าย มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๙ รวมอายุได้ ๘๒ ปี ครั้งเมือหลวงปู่ยิ้ม ยังมีชีวิตอยู่ท่านเป็นพระที่อุดมด้วย ศีลลาจารวัตร ตลอดชีวิตของหลวงปู่ เป็นพระที่อารมณ์เย็น เคร่งครัด แต่มีเมตตาธรรมสูง พูดน้อย และมีผู้คนไปกราบนมัสการหาสู่ท่านมิได้ขาด พระเกจิอาจารย์ดังแห่งกรุงศรีอยุธยา, ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามอินโดจีน หลวงปู่ยิ้ม มีพระสหธรรมมิกที่ร่วม ครู-อุปัชฌาย์ อาจารย์องค์เดียวกันในยุคนั้นคือ หลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก ซึ่งมีอายุมากกว่าหลวงปู่ยิ้ม ๓ ปี อีกรูปหนึ่งคือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ซึ่งเกิดปีเดียวกับหลวงปู่ยิ้ม
ย่างเข้าสู่วัยชรา ทุกสรรพสิ่งที่เกิดมานานแล้วก็ร่วงโรยไปในที่สุด หลวงปู่ยิ้มละสังขารไปด้วยอาการอันงบ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๙๙ (วันจันทร์ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก จ.ศ. ๑๓๑๘ ) รวมสิริอายุได้ ๘๑ ปี ๖๑ พรรษา

หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ

วัดนกกระจาบ ต.วัดนก
อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยธยา
หลวงพ่อขัน อินทปัญโญ เกิดในสกุล คงสุขี เมื่อปี พ.ศ.2415 ตรงกับขึ้น 8 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ที่ ต.วัดยม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายชื่น และนางส่วน คงสุขี เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน ในปีที่ ด.ช.ขัน ถือกำเนิด ครอบครัวมีฐานะดีขึ้น ทำกิจการงานประสบผลสำเร็จ ทำให้โยมบิดา-มารดา รักใคร่เอ็นดูบุตรชายคนโตยิ่ง เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดวังตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา ตรงกับ พ.ศ.2435 โดยมีพระพุทธวิหารโสภณ (อ่ำ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ส่วนนามพระอุปัชฌาย์ ไม่ทราบชัด ได้รับฉายาว่า "อินทปัญโญ" ภายหลังอุปสมบทได้อยู่จำพรรษา 3 พรรษา ท่านออกธุดงค์ ปฏิบัติธรรมะ ศึกษาเพิ่มเติมจากพระธุดงค์ที่อยู่ในป่าลึก เมื่อท่านเดินทางกลับ ปรากฏว่า วัดญาณเสนว่างสมภาร ชาวบ้านพร้อมใจกันนิมนต์ท่านไปเป็นสมภารได้ 3 พรรษา และย้ายมาอยู่จำพรรษาวัดนกกระจาบและที่วัดนกกระจาบนี้เอง ชื่อเสียงของท่านโด่งดังขจรขจายไปทั่ว การปฏิบัติและปฏิปทาของท่าน น่าเลื่อมใสเคร่งในธรรมวินัย ไม่สะสมทรัพย์สมบัติ ยึดสันโดษหลวงพ่อขัน ได้มีโอกาสไปกราบและขอฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง และยังเป็นศิษย์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จนมีโอกาสได้รู้จักและคุ้นเคยกับกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เป็นอย่างดี ในฐานะศิษย์ร่วมสำนักเดียวกัน หลวงพ่อขัน เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรกับพุทธศาสนิกชนทั่วไป กระทั่งถึงปี พ.ศ.2486 ท่านได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยสติสัมปชัญญะที่ครบบริบูรณ์ สิริอายุได้ 72 ปี พรรษาที่ 52


หลวงพ่อออด วัดบ้านช้าง

วัดบ้านช้าง ต.ลำตาเสา
อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นวัดเล็กๆ วัดหนึ่ง ที่เดิมมีเพียงอุโบสถสร้างขึ้นด้วยไม้ ศาลาการเปรียญเล็กๆ และหมู่กุฏิ 4 หลัง
พระครูสันทัดธรรมคุณ (ออด ธมฺทินโน) เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2435 ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ปีมะโรง ที่บ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาบิดาชือ นายเรือง ไวยรัตนา มารดาชื่อ นางเทียม ไวยรัตนา ครั้นเมื่อเติบโตจนมีอายุได้ 15 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดขนอนใต้ ศึกษาร่ำเรียนมูลกัจจายน์กับพระอาจารย์ธูป เมื่ออายุครบอุปสมบท ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบ้านสร้าง อำเภอบางปะอิน เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2454 มีพระครูนิเทศธรรมกถา (พัน) วัดบ้านสร้าง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดจัน วัดบ้านสร้าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ต่าย วัดบ้านสร้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านสร้างจนถึงปี พ.ศ.2460 วัดบ้านสร้างว่างเจ้าอาวาส พระครูนิเทศธรรมกถา (พัน) ซึ่งเป็นเจ้าคณะแขวงปกครองดูแลอยู่ ได้ส่งพระครูสันทัดธรรมคุณ (ออด ธมฺทินโน) ไปเป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดบ้านช้างจนกระทั่งมรณภาพลงเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2520












หลวงพ่อวัน วัดไทรงาม

วัดไทรงาม ต.เสนา
อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

รุ่นแรก ปี 2515

รุ่น 2 ปี 2520

หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง

วัดโคกทอง ต.กุฎี
อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อเชิญ เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๔๕0 ชื่อเดิม เชิญ กฎีสุข บิดาชื่อ เคลือบ มารดาชื่อ โล่ บรรพชาเป็นสามเฌรเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๖๗ ณ วัดโคกทอง โดยมีพระครูบวรสังฆกิจ (เพิ่ม) เป็นพระอุปชฌาย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๔๗0 ณ วัดโคกทอง พระเจ้าอธิการขาบ เป็นพระอุปชฌาย์ พระครูบวรสังฆกิจ (เพิ่ม) เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอุปชฌาแจ่มเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปุญญสิริ" หลวงพ่อเชิญได้ศึกษาวิทยาคมจากพระเกจิมากมายอาทิ หลวงพ่อเพิ่ม วัดโคกทอง,หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า,หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก,หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค,หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกทองหลวงพ่อเชิญได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๓


ปี 2520


พุทธซ้อนหลังยันต์เกราะเพชร ปี 2536

หลวงพ่อทองอยู่ วัดอุทัย

วัดอุทัย(ละมุ) ต.เสนา
อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา

ฉลองสมณะศักดิ์ ปี2516

รุ่น 2 ปี 2524


บูรณะอุโบสถวัดขุนทิพย์ ปี2533


รุ่น 4 ปี 2534

หลวงปู่โปร่ง วัดขุนทิพย์

วัดขุนทิพย์ ต.ธนู
อ.อุทัย จพระนครศรีอยุธยา
ปฏิสังขรณ์อุโบสถ ปี2517


ปี 2518